นักศึกษาถามในชั้นเรียนว่า มีเทคนิคการจำง่าย ๆ เกี่ยวกับการใช้ ฎ และ ฏ หรือไม่ เพราะสับสนเหลือเกิน คำว่าปรากฏ ใช้ ฎ ชฏา หรือใช้ ฏ ปฏัก เป็นตัวสะกด คิดว่าคนอื่น ๆ คงสับสนเช่นเดียวกัน จึงไปค้นหาข้อมูลมา และหาเทคนิคการจำง่าย ๆ
การใช้ ฏ ปฎัก เป็นตัวสะกด
จากการค้นหาข้อมูลการใช้ ฎ และ ฏ ในพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2554 พบว่า ฏ ปฏัก ใช้เป็นตัวสะกดในคำที่อยู่ท้ายคำ เช่น ปรากฏ ปรากฏว่า ปรากฏการณ์ กบฏ
ปรากฏ [ปฺรากด] ก. สำแดงออกมาให้เห็น. (ส. ปฺรกฏ; ป. ปากฏ) ลูกคำของ “ปรากฏ” คือ ปรากฏการณ์
การใช้ ฎ ชฎา เป็นตัวสะกด
ฎ ชฎา ให้ใช้กับคำเดี่ยว ๆ หรืออยู่หน้าคำอื่น เช่น กฎ กฎหมาย กฎเกณฑ์ กฎข้อบังคับ กฎระเบียบ กฎกระทรวง กฎทบวง กฎธรรมชาติ กฎมณเฑียรบาล กฎบัตรสหประชาชาติ กฎศีลธรรม กฎอัยการศึก กฎแห่งกรรม กฎหมู่

มีหลักการจำง่าย ๆ อย่างนี้ คงช่วยให้ใช้ ฎ ชฎา และ ฏ ปฏัก สะกดคำว่า ปรากฏ กับคำว่า กฎระเบียบ กฎหมาย กฎเกณฑ์ ฯลฯ ได้อย่างมั่นใจขึ้นนะคะ