คำในภาษาไทยมีคำที่คล้ายคลึงกันมากมาย แต่เขียนแตกต่างกัน จนคนสับสนวุ่นวาย มักสะกดผิดบ่อย ๆ เช่น คำว่า อนุญาต มักสะกดผิดเป็น อนุญาติ ใครสะกดผิดบ้าง ยกมือขึ้น
คำว่า อนุญาต คล้ายคลึงกับคำว่า ญาติพี่น้อง ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงคิดว่า น่าจะสะกดเหมือนกัน เลยใช้คำว่า ญาติพี่น้องเป็นแนวเทียบการสะกดคำว่า อนุญาต นั่นเอง
อนุญาต อ่านว่า อะ – นุ – ยาด มาจากคำในภาษาบาลี อนุญฺาต หมายถึง ก. ยินยอม, ยอมให้, ตกลง (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2554) https://dictionary.orst.go.th
ญาติ อ่านว่า ยาด, ยา-ติ, ยาด-ติ มาจากคำในภาษาบาลี ญาติ หมายถึง น. คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่
ลูกคำของ “ญาติ, ญาติ-” คือ ญาติกา ญาติกาญาติโก ญาติดี ญาติธรรม ญาติมิตร ญาติสืบสายโลหิต ญาติสืบสาโลหิต ญาติโกโหติกา (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2554) https://dictionary.orst.go.th
ดังนั้น คำว่า อนุญาต จึงไม่มีสระ อิ เพราะว่าต้นฉบับของคำในภาษาไทยภาษาบาลี ไม่มีสระ อิ
ส่วนคำว่า ญาติพี่น้อง มีสระ อิ เพราะว่าต้นฉบับของคำในภาษาบาลีมีสระ อิ
จำง่าย ๆ อนุญาต เขียนไม่เหมือนกับ ญาติพี่น้อง
ญาติพี่น้อง เขียนไม่เหมือนกับ อนุญาต
ใครเขียน อนุญาต ผิดบ่อย ๆ ยกมือขึ้น นั่นแน่ ใครยกมือ ไปคัดคำว่า อนุญาต 100 จบ ปฏิบัติ 😆😆😆
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
อนุญาต ………………………………………………….
คำอื่น ๆ มักเขียนผิดบ่อย ๆ ถ้าเรามั่นสังเกต และฝึกเขียนบ่อย ๆ ย่อมใช้ได้ถูกต้องตามข้อตกลงการใช้ภาษาเขียน โดยเฉพาะนักเขียน นักอยากเขียน ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้มาก ๆ จึงจะเป็นนักเขียนมืออาชีพ
หนังสือดีที่แอดมินนำภูมิใจนำเสนอ
- คำพ้องรูป พ้องเสียง และการใช้ตัวการันต์ ตามหลักภาษาไทย ช่วยให้ทุกคนใช้คำในภาษาที่เขียนคล้ายคลึงกันได้อย่างถูกต้อง
สารบัญ :
ความหมายและตัวอย่างคำพ้องรูป หมวด ก-ฮ
ความหมายและตัวอย่างคำพ้องเสียง หมวด ก-ฮ
ความหมายและตัวอย่างคำพ้องทั้งรูปและเสียง หมวด ก-ฮ
ความหมายและตัวอย่างคำพ้องคำทับศัพท์
ความหมายและตัวอย่างคำไวพจน์ หมวด ก-ฮ
ตัวอย่างการใช้คำพ้องรูป คำพ้องเสียง คำพ้องทั้งรูปและเสียงที่ไม่ถูกต้อง
หลักการใช้การันต์ให้ถูกต้อง
ตัวอย่างคำที่ใช้การันต์
ตัวอย่างคำที่ไม่ใช้การันต์
สำนักพิมพ์ : ต้นกล้า
บาร์โค้ด : 9786164412880
จำนวนหน้า : 240
ขนาด : 14.2 x 20.5 x 1.4 CM
น้ำหนัก : 0.284 KG
สั่งซื้อ 👉https://raka.is/r/xXMY
- คำภาษาไทยที่มักอ่านและเขียนผิด
รวบรวมคำไทยที่มีมักเขียนผิดจัดไว้เป็นหมวดหมู่ ช่วยให้ค้นหาง่าย
สารบัญ
คำภาษาไทยที่มักอ่านผิด
– หมวดอักษร ก – หมวดอักษร ฮ
คำภาษาไทยที่มักเขียนผิด
– หมวดอักษร ก – หมวดอักษร ฮ
ISBN : 9786162367205
Barcode : 9786162367205
ขนาดหนังสือ :14.5 x 18.5 ซม.
น้ำหนัก :450 กรัม
จำนวนหน้า :336 หน้า
สั่งซื้อ 👉https://raka.is/r/VVKd
- คำ เครื่องมือช่วยการเขียน
ภาษามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางคำเมื่อมีผู้ใช้ผิดบ่อยเข้าก็ทำให้คนจำนวนมากเข้าใจตามว่าถูกต้อง การใช้คำเก่ง การเลือกใช้คำดี มีความหมายชัดเจน ตรงประเด็น ทำให้งานเขียนนั้นน่าสนใจ เช่น การเขียนเพื่อการโฆษณา ก็ลดทอนความเป็นแบบแผนลงเพื่อดึงดูดความสนใจผู้อ่านและให้สั้นกระชับเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดแล้วการเขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจน ไม่สับสน
สั่งซื้อ 👉https://raka.is/r/MQW1
นักเรียน นักศึกษา นักเขียน และแวดวงวิชาชีพอื่น ๆ ควรฝึกหัดใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เพราะว่าการเขียนเป็นการสื่อสารที่สำคัญทั้งในแวดวงการศึกษา ธุรกิจ และแวดวงอื่น ๆ
อนุญาต เขียนไม่เหมือนกับ ญาติพี่น้อง พบกันใหม่ในบทความต่อไป
OmniBonga