กลวิธีการใช้สำนวน

หลายคนอาจจะสงสัย เราใช้สำนวนไปทำไมกันนะ

งานวิจัยเรื่อง กลวิธีการใช้ภาษาและภาพสะท้อนสังคมในวรรณกรรมบันเทิงของมงกุฎ อรดี วิจัยโดย ชัยวัฒน์ ไชยสุข และ สมเกียรติ รักษ์มณี ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

ในงานวิจัยนี้ ใช้เกณฑ์การวิเคราะห์กลวิธีการใช้สำนวน 4 ชนิด ได้แก่ การใช้สำนวนเพื่อย่นย่อความ การสำนวนเพื่อขยายความเข้าใจ การใช้สำนวนเพื่อแทนถ้อยคำที่ไม่ต้องการกล่าวตรง ๆ และการใช้สำนวนเพื่อเพิ่มความสละสลวยของถ้อยคำ

ตัวอย่าง การใช้สำนวนเพื่อย่นย่อความ

มีนาไม่แน่ใจว่ารอนจเนึกคิดเกี่ยวกับตัวเธออย่างไร ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีคู่หมั้นแล้ว แต่มาเดินอยู่กับชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งไม่เคยรู้ หัวนอนปลายเท้า เลย

ตัวอย่าง การใช้สำนวยเพื่อเพิ่มความสละสลวยของถ้อยคำ

คุณเป็นคนใจดีเหลือเกิน คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้หรอกค่ะ ขอให้สวยและร่ำรวย

กลวิธีการใช้สำนวนช่วยให้เข้าใจความหมายของเรื่องราวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรืออาจจะช่วยลดถ้อยคำที่ต้องการอธิบาย ถ้อยคำสำนวนมักสะท้อนสังคมไทย วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ในยุคสมัยนั้น

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s